Saturday, December 15, 2012

แจ่วฮ้อน หรือ จุ่มจิ้ม

แจ่วฮ้อน หรือ จุ่มจิ้ม






เครื่องปรุง น้ำซุปแจ่วฮ้อน

กระดูกขาวัว 1 ขา
ใส่ข่าทุบให้แตก 1 แง่ง
ตะไคร้ 2 ต้น
ใบมะกรูด 5 ใบ
เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำน้ำซุปแจ่วฮ้อน
ทุบกระดูก ให้แตกแล้วใส่หม้อตั้งไฟต้มกับน้ำสะอาด ใส่ ข่า ตะไคร้ ใบ มะกรูด เกลือป่น และน้ำตาลทรายตามสูตร ต้มเคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆนานประมาณ 1 ชั่วโมง จนได้น้ำซุปกระดูกหมูที่เข้มข้น


เครื่องประกอบแจ่วฮ้อน
เนื้อน่องวัว (เนื้อลาย) หั่นตามขวางให้เป็นแผ่นบาง ๆ
ตับ
ผ้าขี้ริ้ว
ไส้
ผักกะหล่ำปลี
ผักบุ้ง
ใบโหระพา
วุ้นเส้น

น้ำจิ้มแจ่วฮ้อน
มี 2 สูตรให้เลือก ตามใจลูกค้า

1.สูตรเปรี้ยว

ผสมน้ำมะนาว 2 ลูก
พริกป่น 1 ช้อนชา
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
ข้าวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1 ช้อนชา
น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนชา
คนให้ส่วนผสมเครื่องปรุงทุกอย่างเข้ากันดี เก็บใส่ภาชนะไว้ปิดฝา รอจำหน่ายให้ลูกค้า

2.สูตรขม

น้ำดีวัว 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
พริกป่น 1 ช้อนชา
เกลือป่น 1 ช้อนชา
ข้าวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
หอมแดงซอย 3 หัว
ตะไคร้-ใบมะกรูด หั่นซอย ตามใจชอบ

เวลา เสิร์ฟใช้หม้อดินเผาใบเล็กๆตักน้ำซุปใส่ ปรุงรสเพิ่มด้วย ข้าวคั่ว พริกป่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ตั้งไปบนเตาถ่านในเล็ก เมื่อน้ำซุปเดือด ลูกค้าจะใช้ตะเกียบคีบเนื้อ เครื่องใน ผักและวุ้นเส้น ลงไปจุ่มในน้ำซุป ลวกจนสุกแล้วจิ้มกับน้ำจิ้ม เหมือนกินสุกี้ยากี้ ตักน้ำจิ้มเสิร์ฟไปพร้อมกันทั้ง 2 สูตร

vvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvv
vvvvvvvvvvvvvvv


ใน ที่นี้ผมจะพูดถึงเฉพาะจุ่มจิ้มหรือแจ่วฮ้อน ของชาวอีสานเท่านั้นนะครับ (บางท่านเรียกซะโก้ว่า สุกี้อีสาน) ซึ่งจะใช้เนื้อวัวเป็นหลัก ส่วนกรรมวิธีการทำท่านอาจจะดัดแปลงไปใช้กับเนื้อชนิดอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา หรืออาหารทะเล ก็ได้ตามใจท่านครับ เริ่มกันที่ส่วนประกอบของเครื่องปรุงก่อนดังต่อไปนี้
น้ำแกงหรือน้ำซุป ประกอบด้วย น้ำสะอาดต้มเดือดๆ ใส่ข่าหั่นเป็นแว่น ตะไคร้สับเป็นท่อนสั้นๆ ใบมะกรูดฉีก หอมสดหั่นเป็นท่อนสั้นๆ รากผักชีบุบละเอียด ผักชีฝรั่งหั่นฝอย (อีสานเรียกผักหอมเป) ปรุงรสด้วยน้ำปลาดี
ผักรวมมิตร เป็นพระเอกด้วย ใบโหระพา ผักกาดขาว ผักบุ้ง กะหล่ำปลี ใบชะพลู ถั่วฝักยาว ผักชีฝรั่ง และวุ้นเส้น (ถ้าชอบ)
เนื้อ และเครื่องในวัว เนื้อสันใน เนื้อลาย หั่นตามขวางเป็นแผ่นบางพอดีคำ เครื่องในวัวที่ชอบเช่น ตับ หัวใจ ผ้าขี้ริ้ว คูนา ขอบกระด้ง
น้ำจิ้มรส เด็ด แบ่งเป็นสองชนิดคือน้ำจิ้มขมและน้ำจิ้มเปรี้ยว ประกอบด้วยข้าวคั่วป่น พริกแห้งป่น น้ำปลาดี ชิมให้ได้รสเค็มนำ ท่านที่ชอบน้ำจิ้มเปรี้ยวให้เติมน้ำมะนาว ท่านที่ชอบขมให้ผสมน้ำขี้เพลี้ยต้ม/กรอง และน้ำดีให้มีรสขมเล็กน้อย
กรรมวิธี การรับประทาน ถ้าแบบดั้งเดิมก็ต้องใช้เตาถ่านใบเล็กๆ ไฟแดงจัดตั้งด้วยหม้อดินขนาดเล็ก เติมน้ำแกงต้มให้เดือด (สมัยใหม่นี้ใช้กระทะไฟฟ้าสะดวกสุด เพราะถ่านไม้เดี๋ยวนี้หายากจัง) จัดจานผัก จานเนื้อ และถ้วยน้ำจิ้มวางข้างๆ เตา จัดจาน ช้อนและตะเกียบเป็นอาวุธคู่กาย

คีบผักลงลวกให้สุกก่อนวางลงในจาน (ถ้าชอบวุ้นเส้นก็ลวกพอสุก วางเคียงข้าง) คีบเนื้อที่ชอบลงลวกให้สุกพอดี (อย่าสุกมากเนื้อจะเหนียว เคี้ยวแล้วฟันฟางหลุดผมไม่รับประกันนา) จุ่มลงในน้ำจิ้ม รับประทานกับผักเป็นเครื่องเคียง รสชาติแซบอย่าบอกใครเชียว

0 comments:

Post a Comment